วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 5 ค่านิยม 12 ประการ






 
หลังจากที่ทาง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คสช. ได้มอบค่านิยม 12 ประการ ให้ทุกหน่วยทหาร กำลังพล และครอบครัว เพื่อให้ยึดถือและปฏิบัติตาม เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมอันดีงามให้กับสังคมไทย พร้อมกับให้สอดแทรกค่านิยมหลัก 12 ประการ ไว้ในหลักสูตรทหาร รวมถึงให้รณรงค์เผยแพร่ค่านิยมนี้อย่างกว้างขวาง เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2557 ที่ผ่านมา 
 
 

           ล่าสุด (18 สิงหาคม 2557) พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย หรือ ว.วชิรเมธี ได้กล่าวในรายการเดินหน้าประเทศไทย ถึงเรื่อง "ค่านิยมหลักคนไทย เพื่อประเทศไทยเข้มแข็ง" ว่า นโยบายการสร้างค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. นั้น เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับหลักธรรมะ ถือว่ามีความคล้ายเคียงกัน เพราะเป็นหลักจริยธรรมที่ทุกคนควรยึดถือและประพฤติปฏิบัติ ซึ่งตนมองว่าขณะนี้ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะฟื้นฟูค่านิยมเหล่านี้ให้กลับคืนสู่สังคมไทย 
 
 

           พระมหาวุฒิชัย กล่าวต่อว่า การสร้างค่านิมให้ประสบผลสำเร็จนั้น ต้องปลูกฝังลงไปในรากฐานจิตใจของเด็กและเยาวชน โดยผู้ใหญ่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ด้วย ขณะเดียวกัน สื่อมวลชนและโรงเรียนก็ต้องร่วมปลูกฝังเช่นกัน ด้วยการ "อบรม บ่มเพาะ" เริ่มต้นจากการจุดประกายให้คนรับรู้ จากนั้นนำไปสู่การพัฒนาและต่อยอดจนกลายเป็นวัฒนธรรม
 

 


ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.
 

1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม 
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ 
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม 
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม 
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน 
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง 
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ 
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี 
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออ านาจฝ่ายต่ า หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา 
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
 
 
 

 
 
สติ๊กเกอร์ ค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ
 
 
        


        ๑. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์                      

 

 

                ๒. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน

 
 
                       

               ๓. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์

                                      

 




๔. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง
และทางอ้อม

                ๕. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย



                ๖. มีศิลธรรม รักษาความสัตย์

 
 
 

                ๗. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย

 
 
 

           ๘. มีระเบียบ วินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่

 

                 ๙. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ

 
 

               ๑๐. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 
 

                    ๑๑. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย 

                    และจิตใจไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ

 
 

                ๑๒. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่า

                ผลประโยชน์ของตนเอง

 
 
 
วิดีโอ
 
 
 
 
 
 
 
 


วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 4 เรื่อง พรบคอมพิวเตอร์






พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควร
มีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ
ขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
                มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”
                มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า
                อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
                 “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่งหรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์
ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรม
ทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
                “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึง
แหล่งกำเนิดต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสาร
ของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
                “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
                                (๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น
                โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
                                (๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
                “ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
                “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
                “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
                มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจ
ออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้



หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

                มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น
มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าว
ไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น
มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
ที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไป
ใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
โดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา
ของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
                มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
                                (๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง                 และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
                                (๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์                 หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ                 ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะหรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
                หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาท
                ถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
                มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด
ตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
                                (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์
                อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
                                (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ                 โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
                                (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ                 อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
                                (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ                 ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
                                (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)



                มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
                มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏ
เป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูล
คอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิด
ตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
                มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
                                (๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหาย
ได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
                                (๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหาย
ได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร



หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่
                มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิด
ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
                                (๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ
                ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
                                (๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์
                หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
                                (๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครอง
                หรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
                                (๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามี
                การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
                                (๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์
                 ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
                                (๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล
                 คอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำ
                 ความผิดและสั่งให้บุคคลนั้น| ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
                                (๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูล
                 คอมพิวเตอร์ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
                                (๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิด
                 และผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้


                มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้อง
ต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่า
บุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของ
การกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตาม
คำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้า
ในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ  (๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาล
ที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของ
หรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือ
แสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัด
ไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบ
กำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึด
หรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง


                มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
                มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่
โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
                มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
                มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
                มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
                มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
                มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
                หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้



วีดิโอ







http://www.amnathos.go.th/row.html



วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 3 เรื่อง อาหารออแกนิค







ขอบคุณ http://static.tlcdn4.com/data/6/pictures/0213/09-11-2012/p176q3rkee1jkt1n9skm1672kbj3.jpg


อาหารออแกนิค


ในปัจจุบันคนเรามีความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีต่างๆ มากกว่า 15,000 ชนิด ที่มาจากอาหาร น้ำดื่ม อากาศ และสิ่งแวดล้อม ด้วยพิษภัยของสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ทำให้ร่างกายของเราสะสมสารพิษ และส่งผลให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันพบว่าสิ่งแวดล้อมมีผลต่อสุขภาพอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งดูได้จากอัตราของการเกิดโรคและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับเมื่อ 20 ปีก่อนที่ผ่านมา เพราะเด็กชาวอเมริกันทุกวันนี้จะเป็นโรคมะเร็ง หอบหืด และโรคออทิสติกกันมากขึ้น โดยอัตราส่วนของเด็กที่เป็นออทิสติกนั้นเพิ่มขึ้นจากเดิม 1 : 2,000 คน เป็น 1 : 66 คน ด้วยเหตุผลนี้เอง อาหารออแกนิคจึงกลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของคนรักสุขภาพ เพราะเป็นอาหารที่มาจากธรรมชาติอย่างแท้จริง






อาหารออแกนิค หรือ อาหารออร์แกนิค หรือ อาหารออร์แกนิก (Oranic Food) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อาหารเกษตรอินทรีย์” หรือ “อาหารอินทรีย์” คือ อาหารที่ผ่านการผลิตทางการเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี หรือวัตถุสังเคราะห์ใดๆ ทั้งสิ้น (รวมไปถึงเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ตัดต่อทางพันธุกรรม) กระบวนการผลิตไม่มีการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช ก่อนการปลูกจะต้องเตรียมหน้าดินก่อนด้วยวิธีธรรมชาติ ทุกขั้นตอนการผลิตจะไร้สารปนเปื้อนที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือมนุษย์ จะไม่ผ่านการฉายรังสี ไม่เพิ่มเติมสิ่งปรุงแต่งลงไปในอาหาร ถ้าเป็นอาหารที่มาจากการทำปสุสัตว์ก็จะต้องไม่มีการใช้สารปฏิชีวภาพ ไม่ใช้สารเร่งฮอร์โมน และต้องเลี้ยงสัตว์ด้วยอาหารที่มีสุขอนามัย
ในปัจจุบันสินค้าออแกนิค หรือผลิตภัณฑ์ออแกนิค จะถูกแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ตามสัดส่วนของส่วนผสมและวัตถุดิบที่เกิดจากการเพาะปลูกด้วยกระบวนการออแกนิค ตั้งแต่ 75-100% โดยการควบคุมและการตรวจสอบมาตรฐานของหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับ นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาของผลิตภัณฑ์ออแกนิคมีราคาสูงกว่าทั่วไป เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่สูงและมีข้อจำกัดในด้านการควบคุมคุณภาพ


อาหารออแกนิค

  1. ส่วนประกอบทุกอย่างล้วนมากจากธรรมชาติ โดยอาหารอาหารออแกนิคจะไม่มีการใช้สารสังเคราะห์ใดๆ ในการเพาะเลี้ยงหรือการเพาะปลูกเลย ไม่ว่าจะเป็นผักหรือเนื้อสัตว์ก็จะถูกเลี้ยงและเจริญเติบโตมาด้วยอาหารจากธรรมชาติล้วนๆ ถ้าเป็นสัตว์ก็จะเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ไม่มีการขุนหรือให้อาหารสังเคราะห์ใดๆ เพื่อให้สัตว์โตเร็วแบบที่นิยมทำกันในอุตสาหกรรมใหญ่ ส่วนผักก็จะเป็นการปลูกบนดินแบบบ้านๆ ไม่ใส่วัตถุสังเคราะห์ใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และสารเคมีหรือยาฆ่าแมลง ใช้แต่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกจากธรรมชาติในการเพาะปลูก ส่วนเมล็ดพันธุ์ที่นำมาเพาะปลูกจะต้องไม่มีตัดต่อพันธุกรรม และต้องมีการเตรียมหน้าดินก่อนการเพาะปลูกด้วยวิธีธรรมชาติ คือ จะต้องทำให้ปลอดสารพิษไม่น้อยกว่า 3 ปี เหล่านี้จึงเรียกได้ว่าเป็นการสร้างอาหารแบบธรรมชาติอย่างแท้จริง 100% มีกลิ่นหอมตามแบบธรรมชาติ ทุกขั้นตอนในการปลูกและการแปรรูปจะต้องอยู่ในมาตรฐานที่ผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานต่างๆ ส่วนประกอบทุกอย่างจึงสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีสารพิษตกค้างหรือสารก่อมะเร็ง
  2. อาหารอาหารออแกนิคจะไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ เลย ส่วนประกอบทุกอย่างจะต้องมาจากธรรมชาติ เพราะถ้ามีการใช้สารเคมีก็จะไม่ถือว่าเป็นอาหารออแกนิค ซึ่งการไม่ใช้สารเคมีที่ว่านั้นหมายถึง การไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี สารกระตุ้น หรือสารเร่งการเจริญเติบโตกับสัตว์ แต่ก็มีบางเจ้าในที่ใช้สารเคมีเพียงเล็กน้อยเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งอาจจะเรียกว่า “95% ออแกนิค” หรือกี่เปอร์เซ็นต์ก็ว่ากันไป แต่ถ้าต่ำกว่า 70% จะไม่ถือว่าเป็นอาหารออแกนิคครับ ส่วนผักไฮโดรโปนิกส์และผักปลอดสารพิษก็ไม่ถือว่าเป็นออแกนิคครับ เพราะผักปลอดสารพิษ คือ ผักที่ไม่ได้ปลอดการใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลงในระหว่างการเพาะปลูก แต่เป็นผักที่ปลอดสารพิษในช่วงตอนเก็บเกี่ยว ส่วนผักไฮโดรโปนิกส์ คือ ผักไร้ดิน ผักประเภทนี้ยังมีความจำเป็นต้องพึ่งสารเคมีอยู่ เพราะผักไร้ดินจะไม่มีดินที่เป็นตัวสะสมธาตุอาหาร แต่จะเปลี่ยนจากดินเป็นน้ำให้เป็นตัวสะสมธาตุอาหารแทน
  3. ไม่ก่อให้เกิดมลพิษในกระบวนการผลิต เพราะอาหารออแกนิคนั้น นอกจากจะมุ้งเน้นให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดีแล้ว จุดประสงค์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการช่วยลดมลพิษให้กับธรรมชาติ เพราะเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการใช้สารเคมีต่างๆ เช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี หรือสารเร่งการเจริญเติบโตต่างๆ นั้นจะก่อให้เกิดสารพิษตกค้างในดิน ในน้ำ และในอากาศ ซึ่งกว่าจะย่อยสลายไปได้บางทีก็อาจใช้ระยะเวลาเป็นสิบๆ ปี ซึ่งวิธีการปลูกแบบธรรมชาตินี้เองจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยฟื้นฟูธรรมชาติที่เสียไป เพราะนอกจากจะได้รับประทานอาหารที่ปลอดสารพิษแล้ว ยังช่วยลดมลพิษต่างๆ ได้อีกด้วย


อย่างไรก็ตาม อาหารออแกนิคก็มิใช่อาหารที่สะอาดบริสุทธิ์ปราศจากสิ่งเจือปนหรือสิ่งแปลกปลอมใดๆ หากแต่มีสารเจือปนที่เป็นธรรมชาติ อย่างแบคทีเรียที่ไม่ใช่สารแปลกปลอมที่เกิดจากการสังเคราะห์ของมนุษย์ แต่เป็นสิ่งแปลกปลอมทางธรรมชาติที่จะช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายทำงานได้ตามปกติ สร้างความแข็งแกร่งให้กับร่างกาย รวมไปถึงแบคทีเรียบางประเภทที่ช่วยทำให้ระบบต่างๆ ภายในร่างกายเป็นไปอย่างสมดุล


ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคที่จำหน่ายในประเทศไทย


กรีนเนทได้ทำการสุ่มตัวอย่างร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย 16 ร้านค้า เพื่อสำรวจสินค้าออร์แกนิคที่วางจำหน่ายในร้าน (ทำการสำรวจช่วงมกราคม – กันยายน 2554) พบว่า
  • ซุปเปอร์มาร์เก็ตมีการวางสินค้าออร์แกนิคเฉลี่ย 48 สินค้า/ร้าน ในขณะที่ร้านสุขภาพเดี่ยวมีสินค้าออร์แกนิคจำหน่ายเฉลี่ย 15 สินค้า/ร้าน โดยร้านที่มีสินค้าออร์แกนิคจำหน่ายมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ Top Supermarket เซนทรัล ชิดลม (176) Villa Market สัมมากร (67) Lemon Farm แจ้งวัฒนะ (64) Food Hall Siam Paragon (40) และFood Land ลาดพร้าว (42)
  • ในส่วนของประเภทสินค้า พบว่ามีสินค้าออร์แกนิควางจำหน่ายทั้งหมด 432 รายการ โดยประเภทสินค้าที่มีการวางจำหน่ายมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากธัญพืช (66) เครื่องดื่ม (56) ผักสด (45) เครื่องปรุงอาหาร (42) และขนม (32)
  • เกือบ 58% ของสินค้าออร์แกนิคที่วางจำหน่ายเป็นสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ที่เหลือเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ  แต่ถ้าไม่นับรวมผักและผลไม้สด (ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตในประเทศ) สัดส่วนของสินค้าออร์แกนิคที่นำเข้าจากต่างประเทสจะสูงถึง 85%
  • แบรนด์ที่มีสินค้าออร์แกนิคจำหน่ายมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ Amy’s (30) Healthy Mate (22) Earth’s Best Organic (18) Healthy Valley (17) และ Xongdur (16) ซึ่งเป็นแบรนด์ของผู้ผลิตจากต่างประเทศ (สินค้านำเข้าถึง 3 แบรนด์)
  • เกือบ 91% ของสินค้า (393 รายการ) ได้รับการรับรองมาตรฐาน มีเพียง 9% เท่านั้นที่มีการกล่าวอ้างว่าเป็นสินค้าออร์แกนิค โดยไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
  • ในสินค้าที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน เกือบ83% จะใช้ตรารับรองมาตรฐานต่างประเทศ มีเพียง 17% ที่ใช้มาตรฐานของประเทศไทย คือ Organic Thailand และ/หรือ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.)  โดยตรารับรองเกษตรอินทรีย์ที่ใช้มากที่สุด คือ ตรารับรองของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA)



ประโยชน์ของอาหารออแกนิค



  • การรับประทานอาหารออแกนิค นอกจากจะช่วยต้านโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง ภูมิแพ้ ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองแล้ว ยังทำทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ดีในปริมาณที่สูงกว่าอาหารทั่วไป เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการยังคงความสมบูรณ์ และมีความสดได้นานกว่าอาหารทั่วไป

  • หากรับประทานอาหารอาหารออแกนิคตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคทั้งหลาย เช่น หอบหืด ออทิสติก ภูมิต้านทานบกพร่อง โรคมะเร็ง ที่จะเกิดขึ้นกับลูกน้อยก็จะลดลงและยังช่วยทำให้คุณแม่มีสุขภาพที่แรงอีกด้วย

  • อาหารออแกนิคจะมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าอาหารทั่วไป โดยพืชผักที่ปลูกโดยวิธีออแกนิคจะมีวิตามินซีสูงกว่าพืชที่ปลูกทั่วไปถึง 27% มีธาตุเหล็กมากกว่า 21% และมีแมงกานีสมากถึง 29% เลยทีเดียว (ผลการวิจัยโดย The Soil Association ประเทศอังกฤษ) นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์และเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการระหว่างอาหารออแกนิคกับอาหารในซุปเปอร์มาเก็ตทั่วไป (ทดสอบโดยการเลือกใช้ แอปเปิ้ล, ลูกแพร์, มันฝรั่ง, ข้าวโพด, ข้าวสาลี) และพบว่าปริมาณของแร่ธาตุในอาหารออแกนิคจะมีมากกว่าอาหารทั่วไปดังนี้ มีแคลเซียมมากกว่า 63%, ธาตุเหล็กมากกว่า 73%, ฟอสฟอรัสมากกว่า 91%, โพแทสเซียมมากกว่า 125%, แมกนีเซียมมากกว่า 118%, โมลิบดีนัมมากกว่า 178%, สังกะสีมากกว่า 60%, โครเมียมมากกว่า 78% และยังพบว่าสารปรอทซึ่งเป็นสารพิษที่พบได้ในอาหารทั่วไปจะมีปริมาณที่ค่อนข้างสูง แต่กลับพบในอาหารออแกนิคน้อยกว่าอาหารทั่วไปถึง 29% ส่วนงานวิจัยของสมิธ-สแปงเกลอร์ และคณะผู้วิจัย ได้ทบทวนผลการศึกษากว่า 230 ฉบับ ซึ่งเปรียบเทียบสุขภาพของคนที่รับประทานอาหารแอแกนิคกับคนที่รับประทานอาหารทั่วไป ซึ่งทีมนักวิจัยได้พบว่าปริมาณของวิตามินในผลิตภัณฑ์ออแกนิคแทบไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้นฟอสฟอรัสที่อาหารออแกนิคจะมีปริมาณมากกว่าเพียงน้อย ส่วนสารอาหารในกลุ่มโปรตีนและไขมันในนม พบว่า ไม่ว่าจะเป็นนมออแกนิคหรือนมทั่วไปก็มีปริมาณของโปรตีนและไขมันไม่ต่างกัน แต่ในบางการศึกษาก็ระบุว่าในนมออแกนิคจะมีกรดไขมันโอเมก้า3 มากกว่า แต่เนื่องอยากยังมีหลักฐานการศึกษาที่น้อยมาก จึงทำให้ไม่สามารถยืนยันได้ชัดเจน






  • อาหารออแกนิคจำพวกผักและผลไม้ จะมีความเสี่ยงจากยาฆ่าแมลงต่ำกว่าร้อย 30 เมื่อเปรียบเทียบกับพืชผักและผลไม้ทั่วไป ในขณะที่หมูและไก่อินทรีย์นั้นจะมีสารต้านแบคทีเรียน้อยกว่าเนื้อสัตว์ทั่วไป 33% แต่อย่างไรก็ตามเราก็อย่าลืมว่าปริมาณของสารที่ตกค้างซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลงในสินค้าบางชนิดนั้นยังมีค่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ฉะนั้นก่อนจะนำผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์มารับประทาน ควรจะล้างให้สะอาดเสียก่อน ไม่ว่าอาหารนั้นจะเป็นอาหารออแกนิคหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคนั่นเอง
  • อาหารออแกนิคผลิตมาจากกระบวนการผลิตเกษตรอินทรีย์ ผู้บริโภคจึงมั่นใจได้ในความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ทั้งยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง สารป้องกันเชื้อรา หรือแม้แต่ปุ๋ยเคมี
  • อาหารออแกนิคมีรสชาติที่ดีกว่า มีความเป็นธรรมชาติมากกว่าอาหารที่ผลิตจากระบบเกษตรทั่วไปที่มีการใช้สารต่างๆ หรือแม้แต่ในด้านการแปรรูป อาหารออแกนิคก็จะผ่านการแปรรูปน้อยกว่า ทั้งนี้ก็เพื่อคงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารเอาไว้ให้ได้มากที่สุด
  • สัตว์ที่เลี้ยงในระบบเกษตรอินทรีย์จะไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะหรือสารเร่งการเจริญเติบโต แม้กระทั่งอาหารที่ใช้ในการเลี้ยงก็จะต้องเป็นอาหารสัตว์ออแกนิค ที่ผลิตจากกระบวนการเกษตรอินทรีย์ โดยไม่มีการใช้สารปรุงแต่ง เช่น สีผสมอาหาร สารกัดบูด จึงทำให้ผลผลิตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนม ไข่ เนื้อสัตว์ จะไม่มีสารสังเคราะห์ที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้
  • ในการผลิตอาหารออแกนิคแปรรูป จะมีข้อกำหนดห้ามใช้สารเคมีสังเคราะห์ที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นสารให้สี สารกันบูด สารแต่งกลิ่นและรส รวมไปถึงกรรมวิธีการแปรรูปก็ต้องเป็นวิธีที่ปลอดภัย ห้ามใช้วิธีการที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เช่น การฉายรังสี การฟอกสีให้ขาว การหมักโดยใช้สารเร่ง เป็นต้น
  • เกษตรกรผู้ปลูกจะมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น ปลอดภัยจากสารเคมี เพราะในระบบเกษตรอินทรีย์จะไม่มีการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายใดๆ เลย

  • ในระบบเกษตรอินทรีย์ การเลี้ยงสัตว์ ทั้งปศุสัตว์ สัตว์น้ำ และสัตว์ปีก จะให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพและสวัสดิการของสัตว์ ให้ความธรรมชาติแก่สัตว์เลี้ยง ไม่กักขังสัตว์ให้อยู่กันอย่างแออัด ไม่กุดอวัยวะหรือทำการทรมานสัตว์ ไม่เร่งการเจริญเติบโตของสัตว์เลี้ยงด้วยวิธีใดๆ และดูแลสภาพความเป็นอยู่ของสัตว์โดยพิจารณาจากธรรมชาติของสัตว์ จึงทำให้สัตว์เลี้ยงมีสุขภาพอนามัยที่ดี เจริญเติบโตอย่างเป็นธรรมชาติ และมีความเป็นอยู่ที่สมควรแก่อัตภาพ
  • หลักการสำคัญอย่างหนึ่งของเกษตรอินทรีย์ก็คือ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะเรื่องของดิน น้ำ และอากาศ เกษตรกรต้องจะทำให้ทรัพยากรดินและน้ำได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู
  • ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ เนื่องจากไม่มีการใช้สารเคมีต่างๆ จึงทำให้ฟาร์มเกษตรอินทรีย์มีพืชและสัตว์ต่างๆ อยู่หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืชพรรณพื้นบ้านต่างๆ ที่สามารถนำใช้เป็นอาหารหรือยาได้ รวมไปถึงสัตว์ต่างๆ ทั้งที่อยู่ใต้ดินและอยู่บนดินหรือตามต้นไม้ต่างๆ เช่น นก ปลา แมลง ไส้เดือน เป็นต้น แม้ว่าส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจเป็นศัตรูพืช แต่ก็มีสัตว์ที่คอยควบคุมแมลงศัตรูพืชเหล่านี้อยู่เช่นกัน เช่น กบ กิ้งก่า แมงมุม เป็นต้น ด้วยความหลากหลายนี้เองจึงทำให้ฟาร์มออแกนิคมีเสถียรภาพจากการรบกวนของโรคและแมลงศัตรูพืช เพราะธรรมชาติจะควบคุมกันเอง

  • การผลิต การขนส่ง และการใช้สารเคมีต่างๆ ทางการเกษตรจะทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุของโลกร้อน แต่ระบบเกษตรอินทรีย์ปฏิเสธการใช้สารเหล่านี้ จึงทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง อีกทั้งระบบเกษตรอินทรีย์ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และฟาร์มเกษตรอินทรีย์ยังช่วยตรึงและเก็บกักคาร์บอนในรูปของอินทรียวัตถุบนดินและใต้ดิน รวมทั้งในชีวมวลต่างๆ ซึ่งทำให้มีก๊าซเรือนกระจกลดลง
  • ช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรในด้านค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการซื้อสารเคมีหรือยากำจัดแมลงศัตรูพืช และช่วยลดปริมารการนำเข้าของสารเคมีจากต่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง
  • เกษตรกรที่ผลิตอาหารออแกนิคจะได้รับการประกันราคาผลผลิต ได้ราคาที่ยุติธรรม ทำให้เกษตรมีรายได้มากขึ้น จึงช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมเมื่อเปรียบเทียบกับระบบการเกษตรทั่วไปที่เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาต่ำ ทำให้ขาดทุนและเป็นหนี้สิน สำหรับผู้บริโภคก็จะได้รับประทานอาหารออแกนิคที่มีความปลอดภัย มีคุณภาพ และราคายุติธรรม






ค้าออแกนิค


  • ประเภทของอาหารออแกนิคมีอะไรบ้าง?  ประเภทของอาหารออแกนิคที่พบว่ามีวางจำหน่ายมากที่สุดคือ ผักสด ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากธัญพืช เครื่องดื่ม เครื่องปรุงอาหาร และในรูปของขนมต่างๆ (เกือบ 58% ของสินค้าออแกนิคที่วางจำหน่ายเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งถ้าไม่นับรวมกับผักผลไม้สดที่ส่วนใหญ่ผลิตในประเทศ สัดส่วนของสินค้าออแกนิคที่นำเข้าจากต่างประเทศจะสูงถึง 85%) โดยแบรนด์ที่มีสินค้าออแกนิคจำหน่ายมากที่สุด คือ Amy’s, Healthy Mate, Earth’s Best Organic, Healthy Valley และ Xongdur
  • สามารถหาซื้ออาหารออแกนิคได้ที่ใดบ้าง? ร้านค้าที่มีสินค้าออแกนิคจำหน่ายมากที่สุดก็คือ Top Supermarket (เซนทรัล ชิดลม), Villa Market (สัมมากร), Lemon Farm (แจ้งวัฒนะ), Food Hall (Siam Paragon), Food Land (ลาดพร้าว) เป็นต้น
  • อาหารออแกนิคที่วางจำหน่ายทั่วไปผ่านการรับรองหรือไม่? เกือบ 91% ของสินค้าออแกนิคจะได้รบการรับรองมาตรฐาน และมีเพียง 9% เท่านั้นที่มีการกล่าวอ้างว่าเป็นสินค้าออแกนิคแต่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน และในสินค้าที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกือบ 83% จะใช้ตราที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากต่างประเทศ แต่มีเพียงส่วนที่เหลืออีก 17% ที่ใช้เพียงมาตรฐานของประเทศไทย (Organic Thailand และ/หรือ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.)) โดยตรารับรองการเกษตรอินทรีย์ที่ใช้มากที่สุด คือตรารับรองของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา 







ธุรกิจ การปลูกผักออแกนิค










ขอบคุณจาก