วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมที่ 5 พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ล่าสุด




พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 

(การคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและกำหนดข้อยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง)
1. ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 132 ตอนที่ 6 ก เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา
2. มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป
3. สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ มีดังนี้

(1) คุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์และคุ้มครองสิทธิในข้อมูลที่เจ้าของลิขสิทธิ์ที่ใช้บริหารจัดการสิทธิของตนไม่ให้คนอื่นมาลบหรือเปลี่ยนแปลงโดยไม่ชอบ เช่น การลบข้อมูลเกี่ยวกับชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ชื่อผู้สร้างสรรค์ ชื่อนักแสดง เป็นต้น โดยหากบุคคลใด ลบ หรือเปลี่ยนแปลง ข้อมูลดังกล่าว ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ


(2) คุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ปกป้องงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนเพื่อป้องกันการทำซ้ำหรือการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น พาสเวิร์ด (password) ที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ในการควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยหากบุคคลใดทำลายมาตรการทางเทคโนโลยีดังกล่าว โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ยินยอมถือว่ามีความผิดฐานละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี



(3) กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์การทำซ้ำชั่วคราว (Exception for Temporary Reproduction) เพื่อกำหนดให้ชัดเจนว่าการทำซ้ำชั่วคราวโดยความจำเป็นของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียกดูงานอันมีลิขสิทธิ์ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากการดูภาพยนตร์ หรือฟังเพลงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการทำซ้ำงานเพลงหรือภาพยนตร์ดังกล่าวไว้ในหน่วยความจำ (RAM) ทุกครั้ง ด้วยความจำเป็นทางเทคนิคดังกล่าวทำให้ทุกครั้งที่มีการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้งานจะต้องทำซ้ำงานด้วยเสมอ การทำซ้ำลักษณะนี้เป็นการทำซ้ำชั่วคราว ที่ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์



(4) เพิ่มเติมเรื่องการกำหนดข้อจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Liability Limitation of ISP) เพื่อให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น เจ้าของเว็บไซต์ Youtube ไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์ โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเอาไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากเว็บไซต์ ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องแสดงหลักฐานต่างๆ ต่อศาลอย่างเพียงพอ และเมื่อศาลได้มีคำสั่งให้เอาไฟล์ละเมิดออกจากเว็บไซต์แล้ว และเจ้าของเว็บไซต์ดำเนินการตามคำสั่งศาล เจ้าของเว็บไซต์ไม่ต้องรับผิดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว



(5) เพิ่มข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์กรณีการจำหน่ายต้นฉบับหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ โดยนำหลักการระงับไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Exhaustion of Rights) มากำหนดให้ชัดเจนว่าการขายงานอันมีลิขสิทธิ์มือสองสามารถทำได้โดยไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การขายภาพเขียน หนังสือ ซีดีเพลง ซีดีภาพยนตร์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี หากเป็นการขายซีดีภาพยนตร์จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดีทัศน์ด้วย มิฉะนั้น แม้ไม่ผิดตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ แต่อาจมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ได้



(6) เพิ่มเติมเรื่องสิทธิทางศีลธรรมของนักแสดง (Moral Right) เพื่อเพิ่มสิทธิให้นักแสดง มีสิทธิทางศีลธรรมเท่าเทียมกับสิทธิทางศีลธรรมของผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยนักแสดงมีสิทธิระบุชื่อตนในการแสดงที่ตนได้แสดง และห้ามไม่ให้บุคคลใดกระทำต่อการแสดงของตนจนทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ


(7) เพิ่มบทบัญญัติเรื่องค่าเสียหายในเชิงลงโทษ (Punitive damages) โดยกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหาย ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่ามีการกระทำโดยจงใจหรือมีเจตนาให้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงสามารถเข้าถึงโดยสาธารณชนได้อย่างแพร่หลาย

ขอบคุณภาพจาก     http://i.webch7.com/images/d2037dd1de2289589b2c13f773fd6e0d/28ch7image_10.jpg

(8) กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งริบหรือทำลายสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำละเมิด และสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง




พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่
CR : 
http://mpics.manager.co.th/pics/Images/558000009122501.JPEG

ในวันที่ 4 สิงหาคมนี้เป็นต้นไป พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการโดยมีชื่อเต็มๆว่า พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2)ปี 2558 เพื่อป้องกันการนำข้อมูลในโซเชียลมีเดียของคนอื่นไปเผยแพร่ในโลกออนไลน์โดยไม่ให้เครดิต ถือเป็นการลงโทษนักก๊อปปี้ นักแชร์ข้อมูลก็ว่าได้ โดย สาระสำคัญของการแก้ไขพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่นี้กำหนดอัตราโทษนักก๊อบปี้นักแชร์ทั้งหลายที่ไม่ให้เครดิตเจ้าของผลงานปรับ 1 หมื่น-1 แสนบาท หากกระทำเพื่อการค้ามีโทษปรับตั้งแต่ 5 หมื่น-4 แสนบาทและเพิ่มเติมมา8ประเด็นสำคัญใน พ.ร.บ.ด้วย (มีเพลท ins)
1.คุ้มครองสิทธิของตนเองไม่ให้คนอี่นมาลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์
2.คุ้มครองงานลิขสิทธิ์ที่เจ้าของใส่พาสเวิร์ดเอาไว้หากมีการเจาะข้อมูลจะถือว่ามีความผิด
3.กรณีทำซ้ำชั่วคราว เช่น ดูหนังฟังเพลง ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
4.เจ้าของลิขสิทธิ์ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเอาไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากเว็บไซต์ได้
5.การขายภาพเขียน หนังสือ ที่มีลิขสิทธิ์ ไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ แต่ถ้าเป็นซีดีเพลง ซีดีภาพยนตร์ แม้ไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวิดีทัศน์ด้วย
6.เพิ่มสิทธินักแสดงโดยให้มีสิทธิระบุชื่อตนในการแสดงที่ตนได้แสดง และห้ามไม่ให้บุคคลใดกระทำต่อการแสดงของตนจนทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ
7.ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหาย และ 8.ศาลมีอำนาจสั่งริบหรือทำลายสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำละเมิด และสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงได้
ขณะที่ในโลกออนไลน์โดยเฟชบุ๊คที่ใช้ชื่อว่า รู้ทันแมว ได้ทำเพลทที่ชื่อว่า รูปในเน็ตใช้อย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์อธิบายให้ชาวโซเชียลเข้าใจง่ายๆ ซึ่งมีการแชร์และส่งต่อกันเป็นจำนวนมาก โดยเนื้อหานั้นอธิบายแบ่งเป็นสองส่วนค่ะ ละเมิดและไม่ละเมิด
โดยส่วนที่เป็นการละเมิดนั้น ส่วนใหญ่คือนำข้อมูล รูปภาพไปทำประโยชน์ทางการค้า นำมาซึ่งรายได้ เช่น ไปสกรีนเป็นลายเสื้อแล้ว ทำเว็บไซต์บริษัท องค์กร ร้านค้า หรือเว็บอะไรก็ตามที่ทำให้เกิดรายได้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของรวมไปถึงนำไปประกอบบทความ ก๊อปปี้จาก facebook คนอื่นมาไว้ของตัวเองแล้วตัดเครดิตออกไม่ใช้เครดิตหรือนำมาตัดต่อหารายได้เข้าข่ายละเมิดเช่นกัน
แล้วทำอย่างไรถึงจะไม่ถือว่าเป็นการละเมิด ก็อย่างเช่น ใช้ทำ presentation ใช้ในการประชุมภายในองค์กร ประกอบรายงานส่งอาจารย์ เนื้อหาการเรียนโดยไม่เกิดรายได้ แต่ต้องให้เครดิตภาพแหล่งที่มาด้วย หรือถ้าเอาใช้เป็น wallpaper หน้าจอคอมพิวเตอร์ส่วนตัวอันนี้ได้ไม่ถือว่าละเมิด หรือไปกด like กดแชร์ ติชม รูปก็ได้เช่นกันเพราะไม่ก่อให้มีรายได้ขึ้นมา หรือสุดท้ายทางที่ดีปลอดภัยที่สุดถ้าต้องการใช้ข้อมูลรูปภาพนั้นจริงๆ ก็ตกลงกับเจ้าของข้อมูลเลยค่ะโดยกำหนดเงื่อนไขระหว่างกัน

วิดีโอที่เกี่ยวข้อง














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น